การดูแลรักษาสระว่ายน้ำ
ระบบ OVERFLOW
1.    การทำความสะอาด สระว่ายน้ำ
       1.1  ช้อนใบไม้และสิ่งสกปรกที่อยู่ในสระ
       1.2  ดูดตะกอนพื้นสระ
       1.3  ทำความสะอาดบันได
       1.4  ถอดเกรทติ้งออกมาล้างผงซักฟอก 6 เดือน/ครั้ง หรือเวลาสกปรกมาก
       1.5  ถอดตะกร้าหน้าปั้มออกมาล้างเมื่อมีขยะ
       1.6  ทำความสะอาดถังกรองโดยการ Backwash

2.    การดูดตะกอนพื้นสระ
       2.1  เปิดฝาที่ปิดหัว Vacuum ในสระออกก่อน
       2.2  เปิดดับเบิ้ลยูเนี่ยนบอลวาล์ว Vacuum ในห้องเครื่อง
       2.3  ปิดดับเบิ้ลยูเนี่ยนบอลวาล์ว Surge tank ในห้องเครื่อง
       2.4  ปิดดับเบิ้ลยูเนี่ยนบอลวาล์ว Main drain ในห้องเครื่อง
       2.5  ประกอบด้ามแปรงอลูมิเนียมเข้ากับแปรงดูดตะกอนแล้วเอาสายดูดตะกอนเสียบเข้าแปรงดูดตะกอนกดด้ามแปรงที่ประกอบเสร็จแล้จุ่มลึกลงไปที่พื้นสระ แล้วทำการกดสายดูดตะกอนจากทางที่มี่แปรงกดลงไปในน้ำเรื่อยๆ จนกว่าน้ำจะเต็มสายสายดูดตะกอนเพื่อไล่อากาศออกจากสายดูดตะกอน เอาปลายสายดูดตะกอนอีกด้านหนึ่งที่เหลือไปเสียบเข้ากับช่องหัวดูดตะกอนข้างผนังสระแล้วทำการดูดตะกอน หากดูดตะกอนแรงเกินไปให้เปิดวาล์ว Main drain 50%
       2.6  เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วควรเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดไว้ในที่ร่มหรือห้องเก็บ
       2.7  ปิด-เปิด ดับเบิ้ลยูเนี่ยนบอลวาล์วต่างๆในห้องเครื่องให้ใช้งานได้ตามปกติ
3.    ตำแหน่งหน้าที่การใช้ดับเบิ้ลยูเนี่ยนบอลวาล์ว
       3.1  วาล์ว Vacuum ใช้สำหรับดูดตะกอนภายในสระโดยปกติจะปิดไว้ตลอดเวลา
       3.2  วาล์ว Surge tank ใช้สำหรับดูดน้ำใน Surge tank โดยปกติจะเปิดไว้ตลอดเวลาจะปิดเมื่อทำความสะอาดพื้นสระหรือมีการซ่อมบำรุง
       3.3  วาล์ว Main drain ใช้สำหรับหมุนเวียนน้ำภายในสระโดยปกติจะปิดไว้ตลอดเวลาจะเปิดก็ต่อเมื่อถ่ายน้ำออกจากสระจนหมดสระ
       3.4  วาล์ว Flow inlet ใช้สำหรับจ่ายน้ำเข้าสระจะเปิดไว้ตลอดเวลา จะปิดก็ต่อเมื่อมีการซ่อมบำรุง
       3.5  วาล์ว Waste ใช้สำหรับระบายน้ำทิ้งเวลา Backwash จะเปิดไว้ตลอดเวลากรณีถ้าถังกรองมีหลายชุด ต่อท่อน้ำทิ้งเชื่อมถึงกันถ้าถังกรองชุดไหนชำรุดหรือถอดซ่อมก็ให้ปิดวาล์วตัวนั้นๆ

4.    การทำความสะอาดถังกรอง สระว่ายน้ำ
       4.1  เมื่อทำการติดตั้งถังกรองครั้งแรกต้องทำความสะอาดสารกรองภายในถังกรองก่อนโดยการปรับคันโยกไปที่ตำแหน่ง Backwash จนกว่าน้ำในหลอดแก้วจะใสแล้วปิดปั้ม ปรับคันโยกไปที่ที่ตำแหน่ง Rinse จนกว่าน้ำในหลอดแก้วจะใสแล้วปิดปั้มปรับคันโยกไปที่ตำแหน่ง Filter เป็นการกรองน้ำตามปกติ(ดูรายละเอียด 4.3,4.4,4.5)
       4.2  ให้สังเกตดูเกจ์วัดแรงดัน ถ้าเข็มอยู่ตำแหน่งไหน ก็ให้ถือเข็มวัดแรงดันตำแหน่งนั้นเป็นเกณท์ เมื่อเวลาเปิดถังกรองใช้งานทุกๆวันเข็มวัดแรงดันตำแหน่งนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆแสดงว่าในถังกรองมีสิ่งสกปรก ต้องทำการล้างถังกรอง
       4.3  ปรับคันโยกไปยังตำแหน่ง Backwash เปิดปั้มน้ำ น้ำจะไหลย้อนจากก้นถังขึ้นมาด้านบนเพื่อไล่สิ่งสกปรก ที่หน้าสารกรองออกไปยังท่อน้ำทิ้ง โดยให้สังเกตดูที่หลอดแก้วด้านข้าง Multiport Valve แรกๆน้ำที่ไหลผ่านหลอดแก้ว น้ำจะมีสีดำแดงขาวขุ่นรอจนกว่าน้ำในหลอดแก้วจะใส เมื่อน้ำใสแล้วให้ปิดปั้มน้ำ
       4.4  ปรับคันโยกไปยังตำแหน่ง Rinse เปิดปั้มน้ำ น้ำจะเริ่มไหลจากด้านบนหน้าสารกรองลงยังก้นถังกรองเพื่อปรับสารกรองให้เรียบและไล่สิ่งสกปรกในถังกรอง ไหลออกไปยังท่อน้ำทิ้ง โดยให้สังเกตุดูที่หลอดแก้วด้านข้าง Multiport Valve รอจนกว่าน้ำในหลอดแก้วใสแล้วปิดปั้มน้ำ
       4.5  ปรับคันโยกไปยังตำแหน่ง Filter เปิดปั้มน้ำ เป็นการกรองน้ำตามปกติ
       4.6  ปรับคันโยกไปยังตำแหน่ง Recirculate เป็นการหมุนเวียนน้ำในสระ โดยไม่ผ่านการกรองหรือเป็นการเติมสารเคมีและสารส้ม
       4.7  ปรับคันโยกไปยังตำแหน่ง Weste เป็นการถ่ายน้ำออกจากสระหรือดูดตะกอนสารส้มและตะกอนที่พื้นสระมีความหนามากๆโดยไม่ผ่านสารกรอง
       4.8  ปรับคันโยกไปยังตำแหน่ง Close เพื่อการหยุดไหลเวียนของน้ำ ตำแหน่งนี้ห้ามใช้โดยเด็ดขาด ปกติจะใช้ระบบดับเบิ้ลยูเนียนบอลวาล์วที่หน้าปั้มแทน

5.    การเปิดมอเตอร์ปั้มทำงาน 
       5.1  ในตอนเช้าควรเปิดมอเตอร์ปั้ม เพื่อทำความสะอาดดูดตะกอนและการกรองน้ำ ควรเปิดมอเตอร์ปั้มประมาณ 3 ชั่วโมง
       5.2  ในตอนเย็นควรเปิดมอเตอร์ปั้ม เพื่อเติมสารเคมีปรับสภาพน้ำ และฆ่าเชื้อโรค ควรเปิดมอเตอร์ปั้มประมาณ 3 ชั่วโมง

6.    วิธีการตรวจเช็คสภาพน้ำในสระด้วย Test Kit
       6.1  ให้นำเอาหลอดชุดทดสอบสภาพน้ำ ในกล่องสีฟ้าเปิดฝาจุกทั้งสองด้านโดยคว่ำปากชุดทดสอบแล้วจุ่มลงไปในน้ำ ให้ลึกจากผิวหน้าน้ำประมาณ 40 เซนติเมตรหงายปากชุดทดสอบขึ้น และให้นำเอาหลอดชุดทดสอบขึ้นจากน้ำ แล้วให้สังเกตที่ปากชุดทดสอบถ้ามีน้ำมากเกินกว่าขีดกำหนดที่กำหนด ให้เทน้ำออกให้เท่ากับขีดที่กำหนดพอดี
       6.2  ให้นำเอาหลอดน้ำยาวัดค่า Cl สีขาว บีบลงไปในหลอดชุดทดสอบด้านซ้ายมือจำนวน 5หยด แล้วปิดฝา
       6.3  ให้เอาหลอดน้ำยาวัดค่า Ph สีแดง บีบลงไปในหลอดชุดทดสอบด้านขวามือจำนวน 5 หยด แล้วปิดฝา
       6.4  เมื่อปิดจุกหลอดทดสอบ Cl-Ph แล้วเขย่าหลายๆครั้ง เพื่อให้น้ำยาทดสอบกับน้ำผสมกัน เปรียบเทียบสีของน้ำในหลอดทดสอบแต่ละหลอดกับสีมาตฐานที่แผงข้างหลอดที่มีตัวเลข
       6.5  อ่านค่าที่ช่องซ้ายมือ Cl สีของน้ำยาควรอยู่ควรอยู่ที่ระดับ1.0-1.5 แสดงว่าค่าคลอรีนในสระปกติ ถ้าสีของน้ำยาอยู่ในระดับต่ำกว่า 1.0 ลงมา แสดงว่าสภาพน้ำในสระขาดคลอรีนโดยให้เติมคลอรีน ถ้าสีของน้ำยาอยู่ในระดับที่สูงกว่า 1.5 แสดงว่าสภาพน้ำในสระคลอรีนมากเกินไปโดยให้งดเติมคลอรีน
       6.6  อ่านค่าที่ช่องขวามือ Ph สีของน้ำยาควรอยู่ที่ระดับ 7.2-7.6 แสดงว่าค่าความเป็นกรดและด่างในสระปกติ ถ้าสีของน้ำยาอยู่ในระดับต่ำกว่า 7.2 แสดงว่าน้ำในสระเป็นกรดโดยให้เติมโซเดียม(ด่าง) ถ้าสีของน้ำยาอยู่ในระดับสูงกว่า 7.6 แสดงว่าน้ำในสระเป็นด่างโดยให้เติมไซตริก(กรด)
       6.7  เมื่อทำการตรวจเช็คค่าของเคมีในสระว่ายน้ำแล้ว อย่าเทน้ำในหลอดทดสอบที่รู้ค่าแล้วกลับคืนสู่สระ ล้างหลอดทดสอบให้สะอาด หลังการใช้งานทุกครั้ง เก็บชุดทดสอบเอาไว้ในที่ร่ม และเปลี่ยนน้ำยาทดสอบปีละครั้ง

7.    การใช้เคมี สระว่ายน้ำ
       7.1  การเติมคลอรีน ครั้งแรกในสระต้องใช้คลอรีนมากคิดเป็นอัตราส่วนคือ คลอรีน 100 กรัมต่อน้ำ 5,000 ลิตร ในคราวต่อไปจำนวนที่จะใส่ก็ลดน้อยไป คลอรีน 100 กรัมต่อน้ำ 5,000 ลิตรข้อสังเกต คลอรีนไม่ชอบแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำให้คลอรีนเจือจางระเหยเร็ว ควนใส่คลอรีนลงในน้ำ เฉพาะตอนเย็นเมื่อหมดแสงแดดแล้ว หรือหลังจากเลิกเล่นน้ำในตอนเย็น
       7.2  การทำซูเปอร์คลอรีน คือการเติมคลอรีน 2-3 เท่าจากปกติสำหรับสระบ้านให้ค่าคลอรีนอยู่ที 3 PPm สำหรับสระบริการให้ค่าคลอรีนอยู่ที่ 4PPm การทำซูเปอร์คลอรีนมักจะทำหลังจากวันที่มีคนเล่นน้ำจำนวนมาก หรือมีตะไคร้น้ำ หรือทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการซึ่งได้สะสมไว้ในน้ำ สระบ้านควนทำซูเปอร์คลอรีน 2 สัปดาห์/ครั้งส่วนสระบริการควรทำซูเปอร์คลอรีน 1 สัปดาห์/ครั้ง
       7.3  การเติมโซเดียม จะช่วยเพิ่มความเป็นด่างของน้ำในสระกรณีที่ค่า Ph ต่ำกว่า 7.2 PPm
       7.4  การเติม ไซตริก จะช่วยเพิ่มความเป็นกรดของน้ำในสระ กรณีที่ค่าPh สูงกว่า 7.6 PPM
       7.5  การเติม สารส้มจะใช้ในกรณีที่น้ำในสระขุ่นเขียวมีตะกอนมาก ก่อนจะเติมสารส้ม ต้องเติมโซเดียมก่อนเพื่อปรับสภาพน้ำให้ค่า Ph อยู่ที่ 8-9 PPm จากนั้นจึงเติมสารส้มตามปริมาตรอัตราส่วนประมาณ 30 % ของสารส้มเช่นสารส้ม 10 กก.จะต้องใช้โซเดียม 3 กก. ควบคู่กันไปก่อนเติมสารส้ม ให้ปรับคันโยกไปที่ตำแหน่ง Recirculate เปิดปั้มน้ำให้น้ำในสระหมุนเวียนโดยไม่ผ่านสารกรองลงสารส้สมและโซเดียม ตามปริมาตรน้ำในสระ กวนน้ำให้สารส้มกระจายทั่วสระ แล้วปิดปั้มน้ำประมาณ 8-10 ชั่วโมง เมื่อตะกอนตกหมดแล้วให้ปรับคันโยกไปที่ตำแหน่ง Wast แล้วทำการดูดตะกอนให้หมด ถ้าน้ำในสระยุบก็เติมน้ำให้เต็มสระเหมือนเดิม ปรับสภาพน้ำโดยการเติมคลอรีน และปรับค่า Ph

 

 



บริษัท พูลวัน จำกัด 66/300 ม.5 ตำบล บางเตย อำเภอ สามโคก จังหวัด ปทุมธานี 12160

โทรศัพท์ 081 912 6931

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้